วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ชะเอมไทย

ชะเอมไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth อยู่ในวงศ์ Mimosoideae เป็นไม้ยืนต้นมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร มีชื่อเรียกทั่วไป ชะเอมป่า(กลาง) ส้มป่อยหวาน(ภาคเหนือ) ตาลอ้อย(ตราด) เซาะซูโพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) ชะเอมไทยจะแตกต่างจากชะเอมเทศ



 ลักษณะทั่วไป
 เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ตามลำต้นกิ่งก้านจะมีหนาม ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย คล้ายกับใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ดอกเล็ก ๆ ออกที่ปลายช่อลักษณะเป็นพู่ มีสีขาว มีกลิ่นหอม ผลเป็นฝักแบน มีสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลและแตกออก

 
สรรพคุณ
รากแก้กระหายน้ำ ยาระบาย เนื้อไม้มีรสหวาน ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน โรคในลำคอ แก้ลม ดอกช่วยย่อยอาหาร ผลขับเสมหะ ใบ ขับเลือดให้ตก

ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : wiki 

 

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

มะขามป้อม

มะขามป้อม (Indian gooseberry) เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน

ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

 คุณค่าทางอาหาร
       มะขาม ป้อมมีรสชาติถึง 5 รสด้วยกันคือ เปรี้ยว หวาน เผ็ดร้อน ขม ฝาด ถือได้ว่าทุกส่วนของมะขามป้อมมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเราทั้งสิ้น ในมะขามป้อม 1 ผลมีวิตามินซีสูงมาก นับว่าเป็นยาอายุวัฒนะขนานหนึ่ง ทางที่ดีเราควรหันมาบริโภคมะขามป้อมเป็นยาบำรุงและบำบัดโรค
       มะขาม ป้อมเป็นส่วนผสมของสูตรยาตรีผลาตามตำรับยาไทยโบราณ ซึ่งประกอบด้วยสมอไทย สมอพิเภก และมะขามป้อม เพื่อล้างพิษออกจากระบบต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ระบบเลือด และระบบน้ำเหลือง
       ในมะขามป้อมนั้นมีแคลเซียมสูงมาก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังมีวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย


สารที่พบ
ผลสด
มีวิตามินซี ร้อยละ ๑-๑.๘ นับว่ามีปริมาณมากและปริมาณค่อนข้างแน่นอน (วิตามินซีในน้ำคั้นจากผลมะขามป้อม มีมากประมาณ ๒๐ เท่าของน้ำส้มคั้น มะขามป้อม ๑ ผล มีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่าที่มีในผลส้ม ๑-๒ ผล) นอกจากนั้นยังมี สารแทนนิน (tannin) ร้อยละ ๒๘
ผลแห้ง มีกรดมิวซิก (mucic acid) ร้อยละ ๔-๙
เปลือกผล มีกรดเอลลาจิก (ellagic acid), กรดฟิลเลมลิก (phyllemblic acid) และสารฟีนอลส์ (phenols)
เนื้อผลสด มีน้ำร้อยละ ๘๑.๒ โปรตีนร้อยละ ๐.๕ ไขมันร้อยละ ๐.๑ คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ต่างๆ กรดนิโคตินิก วิตามินซี เพ็กทิน และแทนนินจำนวนมาก
เมล็ด มีน้ำมัน (fixed oil) ประมาณร้อยละ ๒๖ (ประกอบด้วย linolenic acid ร้อยละ ๘.๘, linoleic acid ร้อยละ ๔๔, oleic acid ร้อยละ ๒๘.๔, stearic acid ร้อยละ ๒.๒, palmitic acid ร้อยละ ๓, myristic acid ร้อยละ ๑) นอกจากนั้น ยังมี phosphatides และน้ำมันระเหยอีกเล็กน้อย
ใบ มี amlaic acid, lupeol, มีแทนนิน ร้อยละ ๒๒ ของน้ำหนักแห้ง
เปลือกต้น มี lupeol, leucodelphinidin มี แทนนิน ร้อยละ ๘-๙ ของน้ำหนักแห้ง
กิ่งก้านเล็ก มีแทนนิน ร้อยละ ๒๑ ของน้ำหนัก แห้ง
ราก มี lupeol, ellagic acid

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
รากแห้งของมะขามป้อม ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน ลดความดันโลหิต
รากสดมะขามป้อม นำมาพอกแผลเมื่อโดนตะขาบกัด สามารถแก้พิษได้
เปลือกลำต้นมะขามป้อม ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผง โรยบาดแผลหรือนำมาต้มดื่มแก้โรคบิด และฟกซ้ำ
ปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากแก้ปวดฟัน โดยนำปมก้าน 10-30 อัน มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมหรือดื่มแก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอ แก้ตานซางในเด็ก
ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นยาบำรุง แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือกออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ
ผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่มแก้ท้องเสีย โรคหนองในบำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา หรือจะผสมกับน้ำสนิมเหล็กแก้โรคดีซ่าน โลหิตจาง
เมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นเถ้าผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้ตุ่มคัน หืด หรือตำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้ อาเจียน


ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ : wiki ,  doctor.or.th , kroobannok.com